Last updated: 23 ก.ย. 2565 | 4337 จำนวนผู้เข้าชม |
ทำประกันอัคคีภัยบ้านอยู่อาศัยไว้อุ่นใจกว่า เบี้ยถูกคุ้มครองสูง
บ้านไม่ได้เป็นเพียงแค่ที่อยู่อาศัยของทุกคนในครอบครัว แต่บ้านยังเป็นการลงทุนที่สำคัญมากสำหรับหลายๆ คนบ้านอาจเป็นเงินก้อนใหญ่ที่สุดในชีวิตเลยก็ว่าได้ กว่าจะพร้อมมีบ้านเป็นของตนเอง คนปกติอย่างเราๆ ต้องเก็บหอมรอมริบเป็นเวลานานหลายปี ไล่ไปตั้งแต่หาเงินดาวน์ ผ่อนธนาคาร ตกแต่ง ต่อเติม ซื้อข้าวของเครื่องใช้เข้ามาในบ้าน รวมๆ แล้วเป็นเงินมหาศาลสำหรับคนทั่วไป บางคนแทบจะทุบกระปุกเอาเงินเก็บทั้งหมดมาลงกับบ้านก็มากมาย แล้วเราจะไม่หาหลักประกันอะไรให้กับการลงทุนครั้งใหญ่ในชีวิตและที่พักพิงสำหรับครอบครัวเลยหรือ? จะให้เงินทั้งชีวิตหายไปในกองเพลิงต่อหน้าต่อตาได้อย่างไร โบราณว่าไว้โจรปล้น 10 ครั้ง ยังไม่เท่าไฟไหม้ครั้งเดียว” แล้วถ้าเหตุการณ์เลวร้ายแบบนี้เกิดขึ้นกับ “บ้านของเรา” โดยที่เราไม่มีประกันอัคคีภัย เราจะทำอย่างไร? การซื้อกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัย จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างความคุ้มครองความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับที่อยู่อาศัย รวมทั้งบรรเทาความเดือดร้อนที่จะเกิดขึ้นกับคนในครอบครัวที่เรารัก
ไฟไหม้ไม่ใช่เรื่องไกลตัว ข้อมูลจากสมาคมประกันวินาศภัยไทยระบุว่ามีเหตุไฟไหม้เกิดขึ้นในประเทศเราประมาณ 2,356 ครั้ง/ปี สาเหตุที่พบบ่อยมาจากความประมาท เช่น การสูบบุหรี่ ทิ้งก้นบุหรี่ไม่เป็นที่ การเผาขยะแล้วไม่ควบคุมดูแล การหุงต้มอาหารแล้วขาดความระมัดระวัง การใช้ฟิวส์ไม่ถูกกับขนาดกำลังไฟฟ้า รวมถึงการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ชำรุด ไม่ได้มาตรฐาน สาเหตุลำดับถัดมาคือ อุบัติเหตุ เช่น ก๊าซหุงต้มรั่วไหลออกมาจนทำให้เกิดประกายไฟลุกไหม้และอาจระเบิด การจุดธูปเทียนบูชาพระ รวมถึง ไฟฟ้าลัดวงจร บ้านที่มีอายุมากเกิน10 ปี สายไฟภายในบ้านจะเสื่อมตามกาลเวลา บวกกับการมีเครื่องใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก กำลังไฟมาก ทำให้มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้มากขึ้น พอไฟฟ้าลัดวงจร สายไฟเกิดความร้อนสูงลุกไหม้บ้านอย่างรวดเร็ว จะเห็นว่าสาเหตุที่กล่าวมาเป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเรามาก ถึงแม้จะคิดว่าเราสามารถระวังหรือป้องกันได้แต่ก็ไม่สามารถทำได้ 100% แน่นอน เราระวังแต่คนอื่นอาจจะประมาท ซึ่งอาจเป็นคนในบ้านเราเองหรือแม้กระทั่งเพื่อนบ้าน ดังนั้นการทำประกันอัคคีภัยช่วยให้อุ่นใจได้จริงๆ
ความคุ้มครองประกันอัคคีภัยบ้านอยู่อาศัย
ปกติประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัย จะคุ้มครอง 6 ภัยหลัก ได้แก่ ภัยไฟไหม้, ภัยฟ้าผ่า, ภัยระเบิด, ภัยจากยานพาหนะ, ภัยจากอากาศยานและภัยเนื่องจากน้ำ (ไม่รวมน้ำท่วม,น้ำซึมจากฐานรากหรือท่อประปาแตกนอกอาคาร) ถ้าจะให้คุ้มครองมากกว่านี้ก็สามารถซื้อประกันเพิ่มเติมได้ เช่น ภัยพิบัติ (น้ำท่วม,พายุ,แผ่นดินไหว) เป็นต้น
คุ้มครองทรัพย์สินภายในบ้าน
ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย โดยปกติหมายถึง สิ่งปลูกสร้าง แต่ไม่รวมฐานราก และหรือทรัพย์สินภายในสิ่งปลูกสร้าง ที่มีไว้เพื่อการอยู่อาศัยตามปกติ เช่น เฟอร์นิเจอร์บิวอินด์ หรืออาจะเป็นเครื่องใช้ภายในบ้านที่ไม่ระบุเป็นข้อยกเว้นไว้ แต่ถ้าทรัพย์สินได้รับความเสียหายจากสาเหตุอื่น ๆ เราก็ต้องย้อนกลับไปดูความคุ้มครองในกรมธรรม์ประกันภัยอัคคีภัยอีกทีว่าคุ้มครองทรัพย์สินจากเหตุใดบ้างซึ่งรายละเอียดจะแตกต่างกันไปในแต่ละกรมธรรม์
เบื้ยประกันแพงไหม
เบี้ยประกันอัคคีภัยกำหนดโดยกรมการประกันภัย ซึ่งอัตราค่อนข้างถูก ส่วนใหญ่จะคิดอัตรา 0.101% ของทุนประกันภัย บวกค่าธรรมเนียมนิดหน่อยและขึ้นอยู่กับ สถานที่, ลักษณะการใช้สถานที่, ลักษณะสิ่งปลูกสร้าง เช่น ผนัง โครงสร้าง พื้น ลักษณะภัยที่เอาประกัน นอกจากนี้การติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันภัยต่างๆ ไว้ภายในบ้าน เช่น อุปกรณ์ดับเพลิง หรือเครื่องตรวจจับควัน เป็นตัวช่วยทำให้มีค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยถูกลง
ดังนั้น สมมติทุนประกัน 1 ล้าน ค่าเบี้ยก็ตกปีละเพียง 1,250 บาทเท่านั้น แต่แนะนำว่าควรทำประกันระยะยาว 3 ปีหรือ 5 ปี เพราะจะได้ส่วนลด ค่าเบี้ยจะถูกกว่า เช่น ทำปีเดียวเบี้ยประกัน 1,250 บาท/ปี
แต่ถ้าทำ 3 ปี จะจ่ายค่าเบี้ยประกันแค่ 3,100 บาท
และถ้าทำระยะยาว 5 ปี จะจ่ายค่าเบี้ยประกันแค่ 4,400 บาท เป็นต้น
เบี้ยประกันอัคคีภัย เหมาะกับใคร
เจ้าของบ้าน เจ้าของห้อง ยิ่งใครที่อยู่ในหมู่บ้าน ทาวเฮาส์ ตึกแถวหรืออยู่คอนโดยิ่งต้องทำเพราะถ้าเกิดไฟไหม้แล้วเราไม่ได้ทำประกันจะยุ่งยากมาก นอกจากทรัพย์สินของเราจะเสียหายหมดตัวแล้ว ถ้าไฟไหม้แล้วไฟลามไปบ้านคนอื่นอีก รับรองเลยว่าเดือนร้อนหนักเป็นหลายเท่า บ้านตัวเองก็วอด แถมยังต้องชดใช้บ้านคนอื่น จะเอาเงินมาจากไหน
ในส่วนของคอนโดฯ หลายๆ คนมีข้อสงสัยว่ามันจะซ้ำซ้อนกับประกันของคอนโดฯ หรือไม่ คำตอบคือไม่ เนื่องจากประกันอัคคีภัยคอนโดฯ ที่นิติฯ เป็นคนทำ(แต่เรียกเก็บจากเจ้าของห้อง)นั้น เป็นการทำประกันภัยเฉพาะทรัพย์สินที่เป็นของส่วนกลางเท่านั้น ฉะนั้นจึงไม่ถือว่าซ้ำซ้อน เพราะถ้าเราทำเราก็ทำเฉพาะห้องเราหรือทรัพย์สินส่วนตัวของเรา
ควรซื้อทุนประกันเท่าไหร่
การทำประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัยควรทำให้ครอบคลุมมูลค่าบ้านและทรัพย์สินภายในบ้าน แต่ไม่ควรทำประกันเกินมูลค่าบ้านและทรัพย์สินภายในบ้าน เพราะหลักการจ่ายค่าสินไหมทดแทน จะจ่ายให้ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เกินมูลค่าของทรัพย์สินที่ได้ทำประกันไว้ สมมติว่า ซื้อบ้านพร้อมที่ดิน มูลค่า 2,000,000 บาท แบ่งเป็นที่ดิน 1,000,000 บาท และบ้าน 1,000,000 บาท ดังนั้น ทุนประกันอัคคีภัยที่ครอบคลุมมูลค่าบ้าน เท่ากับ 1,000,000 บาท แต่ความคุ้มครองนี้ยังไม่ครอบคลุมกับเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้าน หากเกิดความเสียหายเฉพาะเฟอร์นิเจอร์เพียงอย่างเดียวไม่สามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้ ซึ่งผู้เอาประกันสามารถแจ้งให้คุ้มครองเพิ่มในส่วนของเฟอร์นิเจอร์ได้ เช่น
• ทุนประกันบ้าน 1,000,000 บาท
• ทุนประกันเฟอร์นิเจอร์ 500,000 บาท
• รวม 1,500,000 บาท
ไม่ควรทำประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัยต่ำกว่า 70% ของมูลค่าทรัพย์สิน เป็นข้อยกเว้นเฉพาะประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัยเท่านั้น จากตัวอย่างข้างต้น หากผู้เอาประกันไม่ประสงค์ทำเต็มมูลค่าทรัพย์สิน แต่ควรทำทุนประกันไม่ต่ำกว่า 700,000 บาท หรือ 70% ตามหลักเกณฑ์การประกันอัคคีภัย เพราะหากเกิดอัคคีภัยเสียหายทั้งหมดประกันจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามทุนประกันที่ได้ทำไว้คือ 700,000 บาท แต่หากผู้เอาประกันทำประกันอัคคีภัยทุนประกันต่ำกว่า 70% ของมูลค่าทรัพย์สิน เช่น ต้องการทุนประกันเพียง 600,000 บาท คิดเป็น 60% ต่อมาเกิดอัคคีภัยเสียหายบางส่วน ประเมินความเสียหาย 300,000 บาท ดังนั้น ผู้เอาประกันภัยจะได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนเพียง 180,000 บาท (300,000 X 60%) ตามหลักเกณฑ์ถือว่าผู้เอาประกันภัยรับความเสี่ยงบางส่วนไว้เองซื้อความ
ดังนั้นก่อนทำประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัย, ประกันบ้าน, ประกันคอนโด ควรศึกษาเงื่อนไขต่างๆ และรายละเอียดความคุ้มครองอย่างละเอียด อัคคีภัยอาจเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ที่ไหน กับใครก็ได้ อย่าคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวคงไม่เกิดกับเรา เพราะถ้าเกิดขึ้นมาแล้วไม่มีประกันรองรับ ความเสียหายนั้นใหญ่หลวงนัก บ้านเดิม ทรัพย์สินเดิมไหม้ไปในกองเพลิง เงินจะสร้างบ้านใหม่ก็ไม่มี ดังนั้นทำประกันไว้เพื่อช่วยบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ถ้าพิจารณาดีๆ จะเห็นว่า เบี้ยประกันน้อยนิดมากเมื่อเทียบกับมูลค่าบ้านและสิ่งของมีค่าต่างๆ ของเรา อย่าให้เข้าทำนองเสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่ายเลย
ตัวอย่างความคุ้มครองของ บริษัท ชับบ์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)
ติดต่อพนักงาน
23 ก.ย. 2565
26 ก.ค. 2565
2 ก.ค. 2565
5 ก.พ. 2566