Last updated: 23 ก.ย. 2565 | 10317 จำนวนผู้เข้าชม |
การประกันภัยความซื่อสัตย์ของพนักงาน เป็นกรมธรรม์ที่ให้ความคุ้มครองความซื่อสัตย์ ในการชดเชยความเสียหายทางการเงินที่เกิดขึ้นแก่นายจ้างในกรณีลูกจ้างไม่ซื่อสัตย์ กระทำทุจริต หรือยักยอกทรัพย์สินต่างๆ ของนายจ้าง
คุ้มครอง การสูญเสียเงิน
ผู้เอาประกันภัยจะได้รับการชดเชยในกรณีที่เกิดการทุจริตหรือยักยอกทรัพย์สินต่างๆ โดยลูกจ้างที่ไม่ซื่อสัตย์คนใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยลำพังหรือสมรู้ร่วมคิดกับผู้อื่น เป็นจำนวนเงินสูงสุดโดยไม่เกินวงเงินจำกัดความรับผิดที่ระบุไว้
ติดต่อพนักงาน
ประกันภัยทางการเงินสำหรับพนักงานแบ่งออกเป็น ประกันภัยความซื่อสัตย์ของพนักงาน, และประกันภัยคุ้มครองสัญญาการค้ำประกันสำหรับลูกจ้าง
1. ประเภทการประกันภัย ความซื่อสัตย์ของพนักงาน ( Fidelity Guarantee Insurance )
ความคุ้มครอง
บริษัทฯจะชดใช้สำหรับการสูญเสียเงินของผู้เอาประกันภัย อันเนื่องมาจากการฉ้อโกง หรือทุจริตของเจ้าหน้าที่ รวมถึงการยักยอก การแยกจ่ายผิดโดยฉ้อฉลต่อเงินหรือเอกสารเรียกเก็บเงินใด ซึ่งเป็นของผู้เอาประกันภัย หรือซึ่งผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดตามกฎหมายอันได้กระทำและตรวจพบได้ในระหว่างระยะเวลาเอาประกันภัยและภายในระยะเวลาสามเดือนนับแต่วันเสียชีวิตของลูกจ้าง, วันที่ลูกจ้างถูกให้ออก หรือลูกจ้างลาออกจากงาน และจากวันสิ้นสุดกำหนดสัญญาประกันภัยแล้วแต่วันใดจะถึงก่อน
เงื่อนไข
2. ประเภทการประกันภัย คุ้มครองสัญญาการค้ำประกันสำหรับลูกจ้าง ( Employee Bond Insurance )
กรมธรรม์นี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับผู้ที่เข้าทำงาน หรือเข้ารับตำแหน่งใหม่ในองค์กรต่างๆ แต่ไม่สะดวกที่จะหาคนค้ำประกัน หรือไม่มีเงินก้อนใหญ่มาค้ำประกันให้กัยตนเอง
ความคุ้มครอง
คุ้มครองความซื่อสัตย์ของลูกจ้าง บริษัทฯจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามจำนวนเงินที่เสียหายไปจริงโดยตรงจากการกระทำอันเป็นการฉ้อโกง หรือยักยอก หรือลักทรัพย์ โดยลูกจ้างในระหว่างระยะเวลาเอาประกันภัย และในระหว่างระยะเวลาต่อเนื่องกันโดยไม่ขาดระยะของการว่าจ้างตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้าง และที่เกี่ยวกับหน้าที่ของลูกจ้างนั้น โดยได้มีการตรวจพบการกระทำและความเสียหายนั้นในระหว่างระยะเวลาเอาประกันภัยหรือภายในหกเดือนหลังจากนั้น หรือภายในหกเดือนหลังจากการจ้างได้สิ้นสุดลง สุดแต่ว่ากรณีใดเกิดขึ้นก่อน
คุ้มครองความรับผิดตามสัญญาจ้าง บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยเป็นจำนวนเงินตามความเสียหายที่แท้จริง สำหรับการสูญเสียหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัยที่เกิดจากการกระทำของลูกจ้าง ซึ่งในสัญญาจ้างระบุให้ลูกจ้างต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เอาประกันภัยจากการกระทำนั้น และเกิดขึ้นในระหว่างระยะเวลาเอาประกันภัย
เงื่อนไข
ข้อยกเว้นทั่วไป
การเรียกร้องสินไหมทดแทน
แจ้งให้บริษัททราบทันทีหลังจากพบเหตุทุจริตยักยอก แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน (เป็นคดีอาญา) เก็บรวบรวมหลักฐาน และเอกสารแจ้งความ แจ้งไปยังบริษัทฯ เช่น ฟอร์มเคลมสินไหม เอกสารส่วนตัวของลูกจ้าง อาทิ ใบสมัคร สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาใบแจ้งความ/หมายเรียก/หมายจับ สัญญาว่าจ้าง สัญญาการค้ำประกัน สำเนาหลักฐานการยักยอก หลักฐานความเสียหาย ภาพถ่าย เป็นต้น
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ฉบับแก้ไข พ.ศ.2551 มาตรา 10 กำหนดว่า " ภายใต้บังคับมาตรา 51 วรรคหนึ่ง ห้ามมิให้นายจ้างเรียกหรือรับหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเงินทรัพย์สินอื่นหรือการค้ำประกันด้วยบุคคลจากลูกจ้าง เว้นแต่ลักษณะหรือสภาพของงานที่ทำนั้นลูกจ้างต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินของนายจ้างซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างได้ ทั้งนี้ ลักษณะหรือสภาพของงานที่ให้เรียกหรือรับหลักประกันจากลูกจ้าง ตลอดจนประเภทของหลักประกัน จำนวนมูลค่าของหลักประกัน และวิธีการเก็บรักษา ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด "
หลักประกันการทำงาน : หลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงานมีสามประเภทได้แก่
1. เงินสด
ในกรณีที่นายจ้างเรียกเก็บหรือรับหลักประกันเป็นเงินสด จำนวนที่เรียกหรือรับต้องไม่เกินหกสิบเท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยที่ลูกจ้างได้รับ
ในกรณีที่เงินประกันซึ่งนายจ้างเรียกหรือรับไว้ลดลง เนื่องจากนำไปชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้างตามเงื่อนไขของการเรียกหรือรับเงินประกัน หรือตามข้อตกลง หรือได้รับความยินยอมจากลูกจ้างแล้ว นายจ้างจะเรียกหรือรับเงินประกันเพิ่มได้เท่าจำนวนเงินที่ลดลงดังกล่าว ให้นายจ้างนำเงินประกันฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่น โดยจัดให้มีบัญชีเงินฝากของลูกจ้างแต่ละคน และให้แจ้งชื่อธนาคารพาณิชย์หรือสถานบันการเงินอื่น ชื่อบัญชีและเลขที่บัญชี ให้ลูกจ้างทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่รับเงินประกันค่าใช้จ่ายใดๆ ที่เกิดขึ้นในการดำเนินการตามวรรคหนึ่งให้นายจ้างเป็นผู้ออก
2. ทรัพย์สิน
ในกรณีที่นายจ้างเรียกหรือรับหลักประกันเป็นทรัพย์สิน ทรัพย์สินที่เรียกหรือรับเป็นหลักประกันได้ ได้แก่ทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้
ทรัพย์สินดังกล่าวข้างต้นต้องมีมูลค่าไม่เกินหกสิบเท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยที่ลูกจ้างได้รับ โดยให้นายจ้างเป็นผู้เก็บรักษาหลักประกันไว้ ห้ามมิให้นายจ้างแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือกระทำการใดๆ เพื่อให้ลูกจ้างแก้ไขเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตาม (1) เป็นของนายจ้าง หรือบุคคลอื่น
3. การค้ำประกันด้วยบุคคล
ค้ำประกันด้วยบุคคล ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลายมือซื่อผู้ค้ำประกันถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญจะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้
ในกรณีที่นายจ้างเรียกหรือรับหลักประกัน โดยการค้ำประกันด้วยบุคคล วงเงินค้ำประกันที่นายจ้างเรียกให้ผู้ค้ำประกันรับผิดต้องไม่เกินหกสิบเท่าของอัตราค่าจ้างรายวัน โดยเฉลี่ยที่ลูกจ้างได้รับ ให้นายจ้างจัดทำหนังสือสัญญาค้ำประกันสามฉบับ โดยให้นายจ้าง ลูกจ้าง และผู้ค้ำประกันเก็บไว้ฝ่ายละฉบับ
ในกรณีที่นายจ้างเรียกหรือรับหลักประกันหลายประเภทรวมกันเมื่อคำนวณจำนวนมูลค่าของหลักประกันทุกประเภทรวมกันแล้วต้องไม่เกินหกสิบเท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยที่ลูกจ้างได้รับ
ประเภทงานที่อาจเรียกเงินประกันการทำงาน หรือรับหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้างได้ ได้แก่
ติดต่อพนักงาน
24 มี.ค. 2564
3 มิ.ย. 2564
26 มิ.ย. 2564
26 ก.ค. 2565